>> ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกเกอร์ของนางสาวสุกัญญา ชูศรีวาส คบ.3 หมู่ 2

หน่วยที่ 6

พอดแคสท์  (Podcast)
พอดแคสท์ คือการนำเสนอรายการวิทยุ หรือวีดีโอในรูปแบบของเราเอง เราสามารถทำได้เองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว และเมื่อทำรายการของเราเสร็จแล้วทั้งไฟล์เสียงหรือคลิปวิดีโอสามารถนำไปไว้ในเว็บไซท์ของตนเองและสามารถให้ผู้สนใจสมัครสมาชิกรายการเพื่อรับฟังหรือรับชมเป็นประจำผ่านโปรแกรม iTunes ได้ พอดแคสท์ของคนไทยอย่างเช่นรายการ dualGeek podcast เป็นต้น
Podcast เป็นรูปแบบของกระบวนการที่เราสามารถบันทึกเสียง หรือการทำรายการวิทยุของตัวเอง หรือการนำไฟล์เสียงต่างๆ ขึ้นไปเก็บไว้บนเว็บ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดมาฟังได้ ซึ่งปกติเราจะใช้วิธีดาวน์โหลดไฟล์คลิปต่างๆ แต่ในระบบ Podcast นี้ เราเพียงแต่เลือกคำสั่งแล้วค้นหาจาก Podcast ที่ทำงานร่วมกับ RSS Feed เราก็สามารถที่จะดาวน์โหลดไฟล์เสียงเหล่านั้นมาเก็บไว้ที่ iTunes แล้วก็สามารถนำไปฟังในเครื่อง iPod ได้คะ
Podcast คือรูปแบบการจัดการข้อมูลสรุปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ เนื้อหา ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเสียง เสียงพร้อมภาพ หรือคลิปต่างๆ และอีกส่วนคือ ไฟล์ข้อมูล XML ที่สามารถบอกสถานะปัจจุบันของ Podcast ได้ว่ามีความเคลื่อนไหวอย่างไร เช่น มีการเพิ่มเนื้อหาครั้งล่าสุดเมื่อใด มีเนื้อหาทั้งหมดกี่เรื่อง หรือรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละเรื่องเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ผู้รับ Podcast อาจไม่จำเป็นต้องเข้าเว็บของ Podcast นั้น เพื่อติดตามข้อมูลล่าสุด หากแต่เพียงใช้โปรแกรมที่สามารถอ่านไฟล์ XML ได้ เพื่อรับไฟล์ XML ของ Podcast นั้น ก็สามารถทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของ Podcast นั้นได้เลย ทำให้ประหยัดเวลา และไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดข้อมูลใหม่ๆ จาก Podcast ที่สนใจอีกด้วย
การทำงาน
เมื่อมีต้นทางที่เก็บไฟล์ (เพลง วิดีโอ และอื่นๆ) แล้วมีโปรแกรมอ่านไฟล์ (iTunes) โดยมี พอดแคสติง เป็นสื่อกลาง เชื่อมต่อระหว่างต้นทางและโปรแกรมอ่านไฟล์ เพื่อช่วยแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ XML (RSS Feed) ซึ่งจะเก็บข้อมูลต่างๆ ของไฟล์ที่แปลงด้วย เช่น ชื่อไฟล์ ชื่อผู้จัดทำ ปีที่จัดทำ คอมเม้นต์ ที่อยู่ของไฟล์ และอื่นๆ แล้วส่งต่อไปยังโปรแกรมอ่าน เพื่อคืนสภาพรูปแบบไฟล์ XML เป็นไฟล์เหมือนต้นฉบับ ให้ผู้ใช้โหลดเก็บไว้ที่เครื่องได้
Podcasts สถานีสาระความบันเทิงเคลื่อนที่พร้อมเสริฟในเครื่องคุณ                         หลายคนอาจจะไม่รู้จัก Podcasts มันคืออะไรPodcasts ก็เปรียบเสมือนสถานีรายการวิทยุ และรายการทีวีออนไลน์ที่มีรายการเป็นร้อยเป็นพันรายการทั้งไทย และเทศรวบรวมไว้ให้เลือก ซึ่งเราสามารถโหลดรายการที่ชอบเก็บมาไว้ฟังไว้ดูในเครื่องได้ทุกที่ทุกเวลา หรือจะเปิดฟังเปิดชมทันทีผ่านอินเตอร์เน็ทก็ได้
โดย Podcasts มีสถานีรายการวิทยุ และรายการทีวีออนไลน์อยู่หลายร้อยหลายพันรายการแถมยังมีกว่า 40 ภาษาให้เลือกรวมไปถึงรายการไทยด้วย ซึ่งได้แบ่งเป็นแค็ตตาล็อกอย่างเช่น ศิลปะ, ธุรกิจ, ตลก, เพลง, ข่าว, กีฬาและอื่นๆ ให้ได้เลือกแบบครบครันทุกสาระ และความบันเทิงกันเลยทีเดียว และไม่ใช่ว่าได้ความบันเทิงเพียงอย่างเดียวแต่สำหรับคนที่ฝึกภาษาก็สามารถฝึกฟังจากรายการเหล่านี้ได้อีกด้วย
Podcast ทำเองก็ได้


ด้วยแนวคิดง่ายๆ ของ Podcast ที่ว่า ผู้ใช้สามารถรับฟังข้อมูลข่าวสารที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา ประกอบกับการที่มนุษย์เราทุกวันนี้มีภาระหน้าที่มากมายที่ต้องทำในแต่ละวัน การที่สามารถรับฟังข่าวสารได้ตามต้องการกำลังกลายเป็นเรื่องจำเป็น เมื่อมีความต้องการมากขนาดนี้ ปัจจุบันจึงมีผู้คนเริ่มงานใหม่เป็น Podcaster (ผู้จัดทำคอนเทนต์ Podcast) เนื่องจาก ผู้ที่สนใจก็สามารถจัดทำข่าวสารเพื่อเผยแพร่บริการในรูปของพอดแคสต์ได้อย่างง่ายดาย โดยมีอุปกรณ์เพิ่มเติมนอกจากคอมพิวเตอร์เพียงสองสามชิ้นเท่านั้น ซึ่งได้แก่ ไมโครโฟน และซอฟต์แวร์แจกฟรี เพียงแค่นี้คุณก็สามารถจัดรายการในหัวเรื่องใดก็ได้ที่คุณสนใจ เพื่อให้บริการพอดแคสต์กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยมีรายได้ในรูปของโฆษณา หรือสปอนเซอร์เช่นเดียวกับรายวิทยุออนแอร์ 
Podcast ทำงานอย่างไร ?
สำหรับบริการ พอดแคสติ้งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหนึ่งที่ถือว่าเป็นกลไกสำคัญนั่นก็คือ RSS 2.0 (Really Simple Syndication) เนื่องจาก เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยทำให้ข่าวสารที่อยู่ในรูปของบริการพอดแคสต์บนเว็บไซต์ต่างๆ ถูกรวบรวมและส่งให้กับผู้สนใจได้อย่างง่ายดาย โดยผู้ใช้เพียงแค่คลิ้กลิงก์รายการที่สนใจ ซอฟต์แวร์ก็จะดาวน์โหลดไฟล์ออดิโอเข้ามาในคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ กล่าวโดยสรุปก็คือ RSS จะเข้ามาช่วยให้คอนเทนต์ของบริการพอดแคสต์ที่เราจัดทำขึ้นสามารถถูกพบโดยผู้สนใจได้ทั่วโลกนั่นเอง

ในส่วนของขั้นตอนการเผยแพร่พอดแคสต์จะใช้วิธีสมัครเป็นสมาชิก เพื่อเปิดรับพอดแคสต์ผ่าน RSS คอนเทนต์ของพอดแคสต์ที่สมัครไว้จะถูกดาวน์โหลดไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ก่อนที่จะอัพโหลดเข้าไปยังเครื่องเล่นมีเดียดิจิตอลอีกทีหนึ่ง เมื่อคุณเชื่อมต่อเครื่องเล่นเข้ากับคอมพิวเตอร์ของคุณ

กล่าวโดยสรุป พอดแคสติ้งก็คือ กลไกการเผยแพร่ออดิโอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้จะต้องสมัคร เพื่อรับไฟล์ใหม่ (ส่วนใหญ่เป็นไฟล์ MP3) ด้วยการดาวน์โหลดเข้าไปในเครื่องเล่นเอ็มพีสามแบบพกพา หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

ถึงตรงนี้คุณผู้อ่านอาจจะเริ่มงงเล็กน้อยกับขั้นตอนที่ฟังดูซับซ้อน แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้ยากเลย เนื่องจาก ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์จัดการความยุ่งยากข้างต้นทั้งหมดให้กับคุณ โดยคุณสมบัติการทำงานพื้นฐานของซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็คือ พวกมันสามารถรวบรวมคอนเทนต์พอดแคสต์จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่คุณได้สมัครไว้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างซอฟต์แวร์พอดแคสต์ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานก็เช่น iTunes ของ Apple หรือ iPodder เป็นต้น

หากว่ากันในภาษาเทคนิค พอดแคสต์ก็คือ รูปแบบของสื่อดิจิตอลใดๆ ก็ตามที่ถูกนำไปเล่นบนอุปกรณ์อย่างเช่น iPod หรือเครื่องเล่น MP3 นั่นเอง ซึ่งจะว่าไปในปัจจุบันนิตยสารรายสัปดาห์ รายการวิทยุ หรือแม้แต่รายการโทรทัศน์ ต่างก็มีการจัดทำในรูปแบบของไฟล์ MP3 ให้ดาวน์โหลด เพื่อใช้ฟังบนอุปกรณ์เครื่องเล่นมีเดียดิจิตอล หรือคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว
Podcast สื่อยุคใหม่
By wachira From PHPCONCEPT
ปัจจุบันนี้เราจะเห็นผู้คนจำนวนหนึ่งในสถานที่ต่างๆ มีอุปกรณ์บางอย่างเสียบอยู่ที่หูอยู่ในระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ตลอดเวลา อุปกรณ์ที่ว่านี้อาจจะเป็นหูฟัง Bluetooth ไร้สายสำหรับมือถือ หูฟังสำหรับเครื่องเล่นเพลงพกพาแบบดิจิทัล ที่เรียกกันว่าเครื่องเล่น MP3 ซึ่งมีราคาประมาณ 1,000 กว่าบาทขึ้นไป โดยแตกต่างกันที่คุณสมบัติของความจุ (memory) และคุณลักษณะอื่นๆ เช่น รองรับไฟล์ได้หลายประเภท บันทึกเสียงได้ และรับสัญญาณวิทยุได้ เป็นต้น
ประโยชน์ของเครื่องเล่น MP3 นั้นนอกจากช่วยสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ใช้ เพราะสามารถพกพาได้สะดวก สามารถหยิบขึ้นมาฟังเพลงโปรดได้ทุกเมื่อแล้ว ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ โดยใช้เป็นเครื่องบันทึกเสียงในการประชุมและอบรมต่างๆ เพราะสามารถบันทึกเสียงได้ในระยะเวลาที่นาน และสามารถส่งไฟล์ที่บันทึกเสียงนั้นเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทาง USB พอร์ตได้อย่างสะดวก ผู้ใช้ก็สามารถบันทึกการสนทนาเก็บไว้เปิดฟังภายหลังได้
ในขณะที่เทคโนโลยีทางด้านเครื่องเล่น MP3 กำลังพัฒนาไปเรื่อยๆ นั้น เทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้น ความนิยมในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงก็มีมากขึ้น เว็บไซต์ต่างๆ สามารถสร้างเนื้อหาที่ซับซ้อนและตรงกับความต้องการของผู้อ่านมากขึ้น ภาพและเสียงที่ส่งผ่านเครือข่ายก็มีคุณภาพที่ดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน
นอกจากการพัฒนาที่กล่าวไปเมื่อสักครู่แล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงในอีกรูปหนึ่งที่สำคัญเกิดขึ้นควบคู่ไปด้วย โดยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นแต่เพียงผู้ใช้สื่อแต่เพียงอย่างเดียว ได้เปลี่ยนบทบาทของตนเองให้มีส่วนร่วมมากขึ้น สามารถสร้างสื่อของตัวเองแล้วนำมาเสนอให้กับผู้อื่นผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตัวอย่างของการสร้างสื่อส่วนตัวที่ดีอย่างหนึ่งนั้นก็คือ การสร้างบล็อก (blog) ส่วนตัวของตนเองขึ้นมา เพื่อที่จะนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่ตนเองสนใจ ซึ่งบล็อกนั้นทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้อ่าน เพราะผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะโพสข้อความแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันไปมากับผู้เขียนและผู้อ่านคนอื่นๆ ทั้งนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญการคาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตข้างหน้านั้น เราแต่ละคนจะมีบล็อกของตนเอง เช่นเดียวกันกับการที่เรามีอีเมลในปัจจุบัน
Podcast - คุณก็เป็นดีเจเองง่ายๆ
Podcast เป็นวิธีการหนึ่งในการนำเสนอไฟล์ Multimedia ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์(movie) หรือเสียง(audio) สู่ช่องทาง internet ผ่านเทคโนโลยี XML หรือ RSS/Feed เพื่อนำมาฟังหรือดูผ่านทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพาอย่างเช่น ipod หรือ MP3 player หรือ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น (ตามคำนิยามของ wikipedia) ดังนั้น ผู้ฟังสามารถ download ไฟล์ Multimedia มาเก็บไว้ในเครื่องเล่นที่สามารถเล่นไฟล์ Multimedia ของตนเองได้ และด้วย RSS/Feed ทำให้ผู้ฟังไม่พลาดการ Update Podcast ของ website นั้น ๆ ทุกครั้งเว็บนั้นๆ มีการ Update podcast episode ใหม่ๆ (สรุปก็คือ RSS ที่สามารถดาวน์โหลดไฟล์มัลติมีเดียมาได้ด้วยนั่นเอง)

Podcast นั้นมีประโยชน์ในหลายอย่าง ในส่วนของเจ้าของสถานี ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวหรือสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์หรือแม้กระทั่งเจ้าของ เว็บไซท์ทั่วๆไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของสถานี Online Radio แบบส่วนตัวที่เปิดกันมากมายก็ตาม อย่างที่ทราบกันดีว่าการ Broadcast ข้อมูลผ่านทางสื่อเดิมๆอย่าง TV หรือ วิทยุ นั้นสามารถทำได้หากคุณมีเงินทุนเพียงพอเพื่อเช่าเวลาที่แพงหูฉีก แต่การทำ Podcasting นั้นง่ายกว่าและประหยัดต้นทุนกว่ามาก รวมทั้งคุณสามารถกระจายคลิปของคุณไปที่ไหนก็ได้ในโลก ผู้ฟังสามารถฟังย้อนหลังได้ และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ DJ สมัครเล่นที่นิยมทำ Online Radio กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ต้องเปิด Server ทิ้งไว้ตลอดเวลา จัดหารายการเพลงใน Playlist อย่างยาวเหยีดตลอด 24 ชั่วโมง ในขณะที่มีผู้ฟังพร้อมกันอยู่น้อยนิด! Podcast น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ที่ให้คุณได้ถ่ายทอดพลังการจัดรายการ และฝีมืออันยอดเยี่ยมในการเลือกเปิดเพลงสุดเจ๋งอย่างเต็มที่ ในเวลาวันละครึ่งหรือหนึ่งชั่วโมง
       หลักการทำงานของ Podcasting
Podcasting ทำงานเสมือนคอมพิวเตอร์และความสามารถในการบันทึกสามารถสร้างโดยผู้ช็สามารถใช้ Podcastสร้างได้เองPodcast จะรวบรวมไว้ทั้งดนตรี  ตลก  กีฬา  ปรัญญา เป็นต้น
เพื่อบันทึก Podcast:
1.   เสียบสาย USB กับไมโครโฟนในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
2.   ติดตั้งเครื่องบันทึก MP 3 สำหรับ Window,Mac หรือ Linux
3.   สร้าไฟล์เสียงโดยการทำการบันทึก
4.   สุดท้ายทำการอัพโหลด ไฟล์เสียง MP 3 เป็นหนึ่งที่ตั้งที่ Podcasting ( ป้อนข้อมูลทั้งหมดที่สอนว่าจะอัพโหลดไฟล์อย่างไร )

 เพื่อฟัง Podcast:
1.    ไปยังที่ตั้งของ Podcasting แล้วดาวโหลดซอฟแวร์ฟรี
2.    คลิกบน Podcast ทุกการเชื่อมต่อที่คุณต้องการ  คุณสามารถที่จะฟังที่คอมพิวเตอร์ของคุณได้ ( ทั้ง Windowและ Mac รองรับ Podcasting ) หรือดาวโหลด Podcast ไปยังเครื่องเล่น MP 3ของคุณ
3.    คุณสามารถป้อนชื่อ  RSS ได้ด้วย. Podcasting ซอฟแวร์ของคุณจะตรวจสอบการป้อน RSS อย่างถูกต้องตามแบบฉบับและดึงเนื้อหานั้นคู่กับรายชื่อเพลงของคุณโดยอัตโนมัติ  จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องเล่น MP 3 เมื่อคุณตัดออก มันจะอัพโหลดเนื้อหาล่าสุดโดยอัตโนมัติ

           
  ตัวอย่างPodcasting ซอฟแวร์
  เครื่องมือต่างๆแตกต่างกันมากในการสร้างและฟัง Podcast
-    FeedForAll 
          ใช้สร้างตรวจแก้และโฆษณา Podcast
-    Replay  Radio
           บันทึกวิทยุกระจายเสียงไปยัง iPod ของคุณหรือเครื่องเล่น MP 3 อื่นๆ  หรือสร้างมันโดย Podcast
-    Primetime  Podcast  Receiver
           การลงชื่อของคุณจัดการได้โดยอัตโนมัติและตรวจสอบการอัพเดท Podcast

              PODCAST กับ E-Learning
Podcast เริ่มมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงการการศึกษา เพื่อเสริมให้ผู้สอนและผู้เรียนได้แบ่งปันข้อมูลกันได้ทุกที่ ทุกเวลา เช่น กรณีที่ผู้เรียนไม่สบาย ก็สามารถดาว์นโหลดบทเรียนที่บันทึกไว้ล่วงหน้ามาศึกษาได้ ผู้สอนสามารถใช้ในการสื่อสารเรื่องหลักสูตร มอบหมายงาน หรือข้อมูลให้กับผู้ปกครองหรือชุมชนได้
ปัจจุบันบริษัท Apple ได้จัดทำ iTunes U เพิ่มการบริการให้กับมหาวิทยาลัยในการทำคำบรรยายบทเรียน (lecture) ใช้ software ที่ได้ผลิตขึ้นโดยเฉพาะ โครงการเริ่มต้นจะขยายเข้าสู่ระบบโรงเรียนในอนาคต นอกจากนี้ iPod ยังสามารถดาว์นโหลด audio book และ video content ได้ด้วย

             PODCAST กับ โอกาสทางธุรกิจการศึกษา
คุณสมบัติในการใช้งานที่เหมาะกับการตลาดคือ ลูกค้าสามารถรับข้อมูลข่าวสารทั้งภาพและเสียงผ่านเทคโนโลยีเว็บไซต์ได้ทุกที่ทุกเวลา เมื่อมองถึงขั้นตอนการผลิตเนื้อหานั้น ขอให้มีแค่ คอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน และซอฟแวร์ ก็จัดทำได้อย่างง่ายดาย สำหรับผู้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แล้วPodcast จัดเป็นช่องทางการตลาดที่ราคาไม่แพงมาก สามารถใช้งานได้แบบวิทยุ (เสียง) และทีวี (เสียงและภาพ)
Podcast จัดเป็นตลาดแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ที่สามารถรับข้อมูล เนื้อหาได้ กลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง ค่อนข้างสูง มีแนวการใช้ชีวิตที่ทันสมัยและติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ กล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ

          การใช้งาน PODCAST   สิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเล่น Podcast ก็คือ 
1.อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ยิ่งเร็วยิ่งดี! เราแนะนำให้ใช้ 256Kbps ขึ้นไปสำหรับไฟล์เสียงและซัก 512Kbpsสำหรับคนที่อยากเล่นแบบ Video เพราะหากใช้ 56K Dialup แนะนำให้หยิบ Remote เปิดดูทีวีแบบเดิมๆไปดีกว่า เพราะอาจจะต้องรอการโหลดยาวนานจนน่าเบื่อไปเลย
2. Podder Software ซึ่งจริงๆแล้วมี Software ที่จะเป็นตัวดึงคลิปต่างจากสถานีต่างๆที่เราต้องการ หรือที่เรียกว่า Podder หรือ Podcast Client อยู่หลายตัวด้วยกันเช่น iPodder ( 
www.ipodder.org ), Doppler (www.dopplerradio.net ) และที่นิยมกันอย่างมากคือ iTune ( www.itunes.com )
3. MP3 Player หรือ PDA ในกรณีที่ต้องการพกติดตัวไปฟัง.... หากยังไม่มีก็ฟังทางคอมพิวเตอร์ไปก่อน 
              
        ข้อดีและข้อด้อยของ 
podcast
ข้อดี
-         ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกส่วนของโลกที่เทคโนโลยีสื่อสารทั้งแบบไร้สายและมีสายไปถึง และได้ทั้งภาพและเสียง
-         สะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนสถานที่ใด เวลาใดก็ได้
-         เป็นอุปกรณ์ที่มีใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน หากนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางและจำนวนผู้เรียนได้
ข้อด้อย
-         จอภาพแสดงผลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ทำให้ไม่สามารถแสดงข้อมูล สารสนเทศให้ผู้เรียนเห็นได้อย่างชัดเจน
-         การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มอุปกรณ์ในอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ทำได้ยาก
-         อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ส่วนมากมีขนาดหน่วยความจำมีความจุน้อย ทำให้มีข้อจำกัดในการจัดเก็บไฟล์ประเภทมัลติมีเดีย

-         แบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายไฟของอุปกรณ์เคลื่อนที่มีระยะเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น