>> ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกเกอร์ของนางสาวสุกัญญา ชูศรีวาส คบ.3 หมู่ 2

หน่วยที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ การสื่อสารเพื่อการสอน
แนวคิดเรื่องการการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
              การสอนภาษาต่างประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่ามีวิธีการสอนที่แตกต่างหลากหลายตามหลักแนวคิดพื้นฐาน และวิธีการสอนภาษาที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ที่นักภาษาศาสตร์ประยุกต์คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการสอน หรือเพื่อปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การสอนภาษาอังกฤษตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1970 และได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศอังกฤษ เนื่องจากเป็นแนวทางการสอนที่เน้นในเรื่องการสื่อสารตามสถานการณ์ในการใช้ภาษาจริงๆมากกว่าการเน้นสอนเรื่องรูปแบบหรือโครงสร้างของภาษาเพียงอย่างเดียว
             Widdowson (1978) อ้างใน Larsen-Freeman (2000:121) ได้กล่าวไว้ว่าในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงโดยการนำแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมาใช้นั้นมีเหตุผลมาจากการที่ผู้เรียนสามารถผลิตประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดีแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะนำความรู้ทางตัวภาษาที่ได้เรียนนั้นไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างเหมาะสมถูกต้องตามปริบท ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมากจากการรู้ถึงกฎในตัวภาษาของผู้เรียนนั้นยังไม่เพียงพอแต่การใช้ภาษาในสถานการณ์จริงๆนั่นเอง
 
              การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทางภาษาที่มีไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งนอกจากที่ผู้เรียนต้องมีความรู้ในเรื่องไวยากรณ์ภาษาแล้ว ผู้เรียนยังต้องมีความรู้ในสิ่งที่อยู่นอกเหนือตัวภาษา เช่น สถานภาพหรือความสัมพันธ์ของคู่สนทนาในสังคม อายุ เพศ การศึกษา ความสุภาพ ตลอดจนเจตนาทั้งทางตรงและทางอ้อมในการสื่อสาร เป็นต้น
 
              Larsen-Freeman (2000:128-132) ได้กล่าวไว้ว่าเป้าหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นคือการทำให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารในภาษาที่เรียนได้ โดยการจะทำเช่นนี้ได้จะต้องมีความรู้ในเรื่องของโครงสร้างทางภาษา ความรู้ในเรื่องความหมาย และความเข้าใจในเรื่องของหน้าที่ของภาษาที่ใช้ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเลือกรูปแบบของภาษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร ปริบททางสังคม ตลอดจนบทบาททางสังคมของผู้ร่วมสนทนาด้วย นอกจากการสอนที่เน้นในเรื่องหน้าที่ของภาษามากกว่ารูปแบบทางภาษาแล้ว ผู้เรียนยังต้องเรียนทักษะทั้งสี่ คือพูด ฟัง อ่าน เขียน ไปพร้อมๆกันตั้งแต่เริ่มต้นอีกด้วย โดยสิ่งที่มีความโดดเด่นในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร คือเนื้อหาของการเรียนการสอนจะอยู่ภายใต้กระบวนการทางการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งสิ้น โดยการที่ผู้เรียนจะสามารถสื่อสารได้นั้นต้องมีองค์ประกอบหลักๆอยู่ 3 ประการด้วยกันคือ 1) ช่วงว่างระหว่างข้อมูล (Information gap) คือความต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันโดยเมื่อคู่สนทนาไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลไม่พอเพียง ทำให้ต่างฝ่ายต้องการที่จะทราบหรือให้ข้อมูลซึ่งกันและกัน 2) การเลือก (Choice) คือผู้เรียนมีโอกาสในการเลือกที่จะพูดหรือเขียน ตลอดจนรูปแบบในการสื่อสารความหมาย 3) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) คือ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้ทราบถึงผลของการสื่อสารที่ว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวจากปฎิกริยาของผู้ร่วมสนทนา นอกจากนี้แล้วการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารยังเน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฎิบัติกล่าวคือ ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาให้มากที่สุด การให้ผู้เรียนสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยให้เลือกใช้ภาษาตามต้องการและให้ประเมินการสื่อสารด้วยตนเองเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการสื่อสารจริงๆ ส่วนเรื่องข้อผิดพลาดที่ผู้เรียนมีขณะที่มีการเรียนการสอนนั้นไม่ใช้สิ่งที่ต้องการการแก้ไขเสมอ ทั้งนี้ข้อผิดพลาดจะถูกแก้ไขเฉพาะในส่วนที่สำคัญๆที่จะไปขัดขวางหรือสร้างความสับสนของความเข้าใจในการสื่อสารเท่านั้น มิฉะนั้นผู้เรียนอาจเกิดความไม่มั่นใจไม่กล้าที่จะใช้ภาษาในการทำกิจกรรมต่างๆได้
                  Wilkins (1976) ได้เสนอแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารไว้ว่าเป็นการให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารตั้งแต่เริ่มต้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยในเรื่องความสำคัญทางไวยากรณ์และสถานการณ์ในการใช้ภาษา การสอนภาษาตามแนวทางการสอนเพื่อการสื่อสารจะมีข้อดีกว่าแนวคิดการสอนที่เน้นไวยากรณ์คือ มีการฝึกฝนภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร และเมื่อผู้เรียนได้มีการฝึกฝนการใช้ภาษาได้ในสถานการณ์จริงแล้ว ยังช่วยให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้เรียนอีกด้วย
                 การสร้างความสามารถในการสื่อสาร (Communicative competence) ซึ่งเป็นเป้าหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนี้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทตามแนวคิดของ Savignon (1983: 36-38) ดังต่อไปนี้
1) ความสามารถด้านกฎเกณฑ์และโครงสร้างของภาษา (Linguistic or Grammatical competence) คือ ความสามารถที่ผู้เรียนต้องมีเกี่ยวกับเรื่องการออกเสียง ศัพท์ โครงสร้างหรือรูปแบบของประโยคเพื่อนำไปใช้ในการสื่อสาร
2) ความสามารถด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม (Sociolinguistic competence) คือ ความสามารถที่ผู้เรียนต้องมีเกี่ยวกับการใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกฎเกณฑ์ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น คนรู้ว่าควรพูดอย่างไรในสถานการณ์ใด จุดประสงค์ของการสนทนา ตลอดจนคำนึงถึงบทบาททางสังคมของตนเองและผู้ร่วมสนทนา เป็นต้น
3) ความสามารถด้านความเข้าใจในระดับข้อความ (Discouse competence) คือ ความสามารถที่ผู้เรียนต้องมีเกี่ยวกับการตีความวิเคราะห์ความสัมพันธ์กันของประโยคต่างๆ โดยสามารถเชื่อมโยงความหมายและโครงสร้างทางไวยากรณ์เพื่อพูดหรือเขียนสิ่งต่างๆได้ต่อเนื่องมีความหมายสัมพันธ์กัน เช่น การมีลำดับของการเล่าเรื่อง การเขียนจดหมายที่มีข้อความเป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกัน
4) ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (Pragmatic or Strategic competence) คือ ความสามารถที่ผู้เรียนต้องมีเกี่ยวกับ การถอดความ การพูดซ้ำ การพูดอ้อม การใช้ภาษาสุภาพ ตลอดจนการใช้น้ำเสียงแบบต่างๆเพื่อให้การสื่อสารมีความราบรื่นขึ้นหากเมื่อเกิดความเข้าใจผิด หรือการไม่เข้าใจในการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสาร

      ทฤษฎีการสื่อสารและการเรียนการสอน    เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการศึกษาทั้งในเรื่องของกระบวนการและทรัพยากรต่าง ๆ แล้วจำเป็นต้องอาศัยทฤษฏีการสื่อสารในการนำเสนอเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอด และวิธีการในการติดต่อเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างได้ผลดีที่สุดด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร คือ การที่จะสื่อความหมายอย่างไรเพื่อให้ผู้รับสารนั้นเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอทฤษฏีการสื่อสารที่นำมาใช้เป็นหลักในการศึกษาถึงวิธีการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศการใช้สื่อและช่องทางการสื่อสาร ทฤษฏีการสื่อสารเหล่านี้ได้นำมาใช้ในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เป็นต้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมถึงการเลือกใช้สื่อเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ได้อย่างดี

สูตรการสื่อสารของลาสแวลล์ (Lesswell)
ฮาโรลด์ ลาสแวลล์ (Harold Lasswell) ได้ทำการวิจัยในเรื่องการสื่อสารมวลชนไว้ในปี พ.ศ. 2491 และได้คิดสูตรการสื่อสารที่ถึงพร้อมด้วยกระบวนการสื่อสารที่สอดคล้องกัน โดยในการสื่อสารนั้นจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้คือ
ใคร พูดอะไร โดยวิธีการและช่องทางใด ไปยังใคร ด้วยผลอะไร
สูตรการสื่อสารของลาสแวลล์เป็นที่รู้จักกันอย่างแร่หลายและเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปโดยสามารถนำมาเขียนเป็นรูปแบบจำลองและเปรียบเทียบกับองค์ประกอบของการสื่อสารได้ดังนี้
ในการที่จะจัดให้การเรียนการสอนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพดีนั้น เราสามารถนำสูตรของลาสแวลล์มาใช้ได้เช่นเดียวกับการสื่อสารธรรมดา คือ
  • ใคร (Who) เป็นผู้ส่งหรือทำการสื่อสาร เช่น ในการอ่านข่าว ผู้อ่านข่าวเป็นผู้ส่งข่าวารไปยังผู้ฟังทางบ้าน ในสถานการณ์ในห้องเรียนธรรมดาก็เช่นเดียวกันย่อมเป็นการพูดระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือการที่ผู้เรียนกลายเป็นผู้ส่งโดยการตอบสนองกลับไปยังผู้สอน แต่ถ้าเป็นการสอนโดยใช้ภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ ตัวผู้ส่งก็คือภาพยนตร์หรือโทรทัศน์นั้น
  • พูดอะไร ด้วยวัตถุประสงค์อะไร (Says what, with what purpose) เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับ เนื้อหาข่าวสารที่ส่งไป ผู้ส่งจะส่งเนื้อหาอะไรโดยจะเป็นข่าวสารธรรมดาเพื่อให้ผู้รับทราบความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละวัน หรือเป็นการให้ความรู้โดยที่ผู้สอนจะต้องทราบว่าจะสอนเรื่องอะไร ทำไมจึงจะสอนเรื่องนั้น สอนเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และคาดว่าจะได้รับการตอบสนองจากผู้เรียนอย่างไรบ้าง
  • โดยใช้วิธีการและช่องทางใด (By what means, in what channel) ผู้ส่งทำการส่งข่าวสารโดยการพูด การแสดงกริยาท่าทาง ใช้ภาพ ฯลฯ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ระบบไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน หรือเครื่องเล่นวีซีดีเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาข่าวสารให้ผู้รับรับได้โดยสะดวก ถ้าเป็นในการเรียนการสอน ผู้สอนอาจจะสอนโดยการบรรยายหรือใช้สื่อสารสอนต่าง ๆ เพื่อช่วยในการส่งเนื้อหาบทเรียนไปให้ ผู้เรียนรับและเข้าใจได้อย่างถูกต้องทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
  • ส่งไปยังใคร ในสถานการณ์อะไร (To whom, in what situation) ผู้ส่งจะส่งข่าวสารไปยัง ผู้รับเป็นใครบ้าง เนื่องในโอกาสอะไร เช่น การอ่านข่าวเพื่อให้ผู้ฟังทางบ้านทราบถึงเหตุการณ์ ประจำวัน หรือแสดงการทำกับข้าวให้กลุ่มแม่บ้านชม ผู้ส่งย่อมต้องทราบว่าผู้รับเป็นกลุ่มใดบ้างเพื่อสามารถเลือกสรรเนื้อหาและวิธีการส่งให้เหมาะสมกับผู้รับ การเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน การสอน ผู้เรียนอายุ 8 ปีกับอายุ 15 ปีต้องมีวิธีการสอนและการใช้สื่อการสอนต่างกัน ผู้สอนต้องทราบถึงระดับสติปัญญาความสามารถและภูมิหลังของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างตลอดจน สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการเรียน เช่น มีสื่อการสอนอะไร ที่จะนำมาใช้สอนได้บ้าง สภาพแวดล้อมห้องเรียนที่จะสอนเป็นอย่างไร ฯลฯ
  • ได้ผลอย่างไรในปัจจุบัน และอนาคต (With what effect, immediate and long term ?) การส่งข่าวสารนั้นเพื่อให้ผู้รับฟังผ่านไปเฉย ๆ หรือจดจำด้วยซึ่งต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน และเช่นเดียวกันกับในการเรียนการสอนที่จะได้ผลนั้น ผู้สอนจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเมื่อสอนแล้ว ผู้เรียนจะได้รับความรู้เกิดการเรียนรู้มากน้อยเท่าใด และสามารถจดจำความรู้ที่ได้รับนั้นได้นานเพียงใด โดยที่ผู้เรียนอาจได้รับความรู้เพียงบางส่วนหรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ การวัดผลของการถ่ายทอดความรู้นั้นอาจทำได้ยากเพราะบางครั้งผู้เรียนอาจจะไม่แสดงการตอบสนองออกมา และบางครั้งการตอบสนองนั้นก็อาจจะวัดผลไม่ได้เช่นกัน

กระบวนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

1. ขั้นนำ/ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up/Lead in) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดความพร้อมและอยากรู้อยากเรียนในบทใหม่  เนื้อหาจะเชื่อมโยงไปสู่สาระสำคัญของบทนั้นๆ เมื่อครูผู้สอนเห็นว่านักเรียนมีความพร้อม เกิดความสนุก และสนใจอยากเรียนแล้ว ก็เริ่มเรียนเนื้อหาต่อไป กิจกรรมที่กำหนดไว้ในขั้นนี้มีหลากหลาย เช่น เล่นเกม ปริศนาคำทาย เพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้ว
2. ขั้นนำเสนอ (Presentation) ในขั้นนี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่นักเรียน มีการนำเสนอศัพท์ใหม่ เนื้อหาใหม่ให้เข้าใจทั้งรูปแบบและความหมาย กิจกรรมที่กำหนดไว้ประกอบด้วยการให้ฟังเนื้อหาใหม่ ให้นักเรียนฝึกพูดตาม ในขั้นนี้ครูเป็นผู้ให้ความรู้ทางภาษาที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องในการออกเสียง คือ Informant (ผู้ให้ความรู้) รูปแบบของภาษาจึงเน้นที่ความถูกต้อง (Accuracy) เป็นหลัก3.  ขั้นฝึก (Practice)  ในขั้นนี้นักเรียนจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เรียนมาแล้วในขั้นนำเสนอ โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนใช้ภาษาได้ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็เน้นเรื่องการใช้ภาษาให้คล่องแคล่ว (fluency) การฝึกอาจจะฝึกทั้งชั้น เป็นกลุ่ม เป็นคู่ หรือรายบุคคล ขั้นนี้เป็นโอกาสที่ครูจะแก้ไขข้อผิดพลาดของนักเรียนในการใช้ภาษา  ซึ่งการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นควรทำหลังการฝึกหากทำระหว่างที่นักเรียนกำลังลองผิดลองถูกอยู่ความมั่นใจที่จะใช้ภาษาให้คล่องแคล่วอาจลดลงได้ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในคู่มือครูและแผนการจัดการเรียนรู้ มีทั้งในลักษณะที่กล่าวมานี้ และในลักษณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกอย่างอิสระ
4.  ขั้นการใช้ภาษา (Production)  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนนำคำหรือประโยคที่ฝึกมาแล้วมาใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในรูปแบบกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว (fluency) และเกิดความสนุกสนาน ในขั้นนี้เป็นขั้นที่เน้นนักเรียนเป็นผู้  ทำกิจกรรม ครูคอยให้ความช่วยเหลือ ถ้านักเรียนผิดพลาด อย่าขัดจังหวะ ให้ปล่อยไปก่อน เพื่อให้นักเรียนรู้สึกสบายใจกิจกรรมที่กำหนดไว้มีหลากหลาย เช่น การเล่นเกม การทำชิ้นงาน การทำแบบฝึก การนำเสนอผลงาน
5. ขั้นสรุป (Wrap up)  เป็นขั้นสุดท้ายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมง จุดประสงค์คือ เพื่อสรุปสิ่งที่ได้เรียนแล้ว กิจกรรมที่เสนอแนะไว้อาจจะเป็นการนำเสนอรายงานของกลุ่ม  ทำแบบฝึกหัดเพื่อสรุปความรู้  หรือเล่นเกมเพื่อทดสอบสิ่งที่เรียนมาแล้ว
ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น  ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม ผลลัพท์ของระบบจะต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหญ่
               องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะทำให้ผลที่ได้รับมีประสิทธิภาพ และการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ จะต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ที่ได้จากการประเมินผล เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องทั้งสามส่วน
ระบบการสื่อสาร (Communication System)
                การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักร มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน การสื่อสารเป็นขบวนการวัฏจักร

การสื่อสารกับการเรียนการสอน
                พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ...การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้

1.      กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย
2.      การทดสอบก่อนการเรียน  (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
3.         ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
4.      การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
  ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้สังคมโลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว การสื่อสารและการสร้างความเข้าใจจึงมีความสำคัญ ภาษา คือ เครื่องมือในการสื่อสารของคนในสังคมเดียวกันหรือต่างสังคม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษนับว่าเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  โดยเฉพาะครูผู้สอนต้องพัฒนาการสอนภาษาให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการใช้ให้มากที่สุด เพื่อให้สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามความต้องการในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในชั้นเรียนและชีวิตประจำวัน
ความหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของตัวผู้เรียน มีจัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน ซึ่งเชื่อมระหว่างความรู้ทางภาษา ทักษะทางภาษา และความสามารถในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ด้านภาษาไปใช้ในการสื่อสาร
ความสามารถในการสื่อสาร  ได้แก่
1. ความสามารถทางด้านภาษา ได้แก่ ความสามารถในเนื้อหาภาษา เช่นเสียง คำศัพท์ ไวยากรณ์ โครงสร้างประโยค
2. ความสามารถในการใช้ภาษา ได้แก่ ทักษะทั้ง 4 คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน
3. ความสามารถในการใช้ภาษาตามระเบียบของสังคม โดยใช้ภาษาให้เหมาะสมกับระดับบุคคลและกฎเกณฑ์ทางสังคม ตามบทบาทและสถานภาพในสถานการณ์สื่อสาร
4. ความสามารถในการเรียบเรียงถ้อยคำ เรียบเรียงความคิด เชื่อมโยงประโยคเป็นข้อความหลัก ข้อความรอง
แนวการสอนภาษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร
1.แนวการสอนตามธรรมชาติ (Natural Approach) เป็นแนวการสอนที่เชื่อว่าการที่จะบรรลุ
                  จุดมุ่งหมายของการสอนภาษาที่สอง ผู้สอนต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนให้ง่ายและเร็วขึ้น เน้นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย (meaning) และเน้นหน้าที่ (function) ของภาษา ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริงนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน การสอนตามแนวธรรมชาตินี้ผู้สอนต้องใช้ภาษาของเจ้าของภาษาตลอดเวลา ซึ่งเป็นปัญหากับผู้สอนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ในการแก้ปัญหาดังกล่าวผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ  การเลือกเนื้อหาและเรื่องที่สอนต้องสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ทักษะฟังควรฝึกก่อนทักษะพูด ก่อนที่ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเขียนต้องคำนึงความพร้อมของผู้เรียนเพราะทักษะนี้ต้องใช้เวลานานในการสร้างความพร้อม ผู้สอนไม่ควรเร่งเพราะจะทำให้ผู้เรียนวิตกกังวลซึ่งมีผลต่อทัศนคติและแรงจูงใจ การช่วยลดความวิตกกังวล (low anxiety) เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาที่สอง  ดังนั้นผู้สอนต้องจัดบรรยากาศที่เป็นมิตรเพื่อให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อมั่นที่จะใช้ภาษา
2.แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร(Communicative Approach) เป็นแนวการสอนที่มุ่งเน้น
                 ผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง ที่มีโอกาสพบในชีวิตประจำวันและยังให้ความสำคัญกับโครงสร้างไวยากรณ์  แนวการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารให้ความสำคัญกับการใช้ภาษา (Use) มากกว่าวิธีใช้ภาษา (Usage) นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในเรื่องความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (Fluency) และความถูกต้องของการใช้ภาษา (Accuracy)

การจัดการเรียนการสอนจึงเน้นหลักสำคัญดังต่อไปนี้
                1. ต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ว่ากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ผู้สอนต้องบอกให้ผู้เรียนทราบถึงความมุ่งหมายของการเรียนและการฝึกใช้ภาษา เพื่อให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
                2. การสอนภาษาโดยแยกเป็นส่วนๆ ไม่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ดีเท่ากับการสอนในลักษณะบูรณาการในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารจะต้องใช้ทักษะ หลาย ๆ ทักษะรวม ๆ กันไป ผู้เรียนควรจะได้ฝึกฝนและใช้ภาษาในลักษณะรวม
                3. ต้องให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการใช้ภาษา ที่มีลักษณะเหมือนในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด
                4. ต้องให้ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษามากๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้
                5. ผู้เรียนต้องไม่กลัวว่าจะใช้ภาษาผิด
3.แนวการสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเป็นฐาน (Content-Based Approach)  เป็นแนวการสอนที่เน้น
เนื้อหาสาระการเรียนรู้มาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษา  กล่าวคือ ให้ผู้เรียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และในขณะเดียวกันก็พัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไปด้วย  ดังนั้น การคัดเลือกเนื้อหาที่นำมาให้ผู้เรียนได้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะเนื้อหาที่คัดเลือกมาจะต้องเอื้อต่อการบูรณาการ
การสอนภาษาทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ สามารถติดตาม ประเมินข้อมูลของเรื่อง และพัฒนาการเขียนเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาในลักษณะองค์รวม (Whole Language Learning)
 4. แนวการสอนที่ยึดภาระงานเป็นฐาน (Task-Based Approach) เป็นการการเรียนรู้ภาษาเกิดจากกระบวนการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานจนลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เรียนรู้ภาษาที่เกิด
จากการปฏิสัมพันธ์ในขณะที่ทำภาระงานให้สำเร็จ   ความรู้ด้านคำศัพท์และโครงสร้างจะเป็นผลที่ได้จากการฝึกใช้ภาษาในขณะทำกิจกรรม นิยมนำแนวคิดนี้ไปใช้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษา เพราะเชื่อว่า
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานว่ามีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ คือ
1. เพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารและในการปฏิบัติภาระงานที่ได้รับ
มอบหมายได้เป็นผลสำเร็จ
2.เพื่อให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ทางภาษาที่ได้รับไปใช้ในชีวิตจริงได้
3.เพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยผ่านกระบวนการปฏิบัติภาระงาน
4.เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(กรมวิชาการ, 2545)
1. อุปสรรคในการเรียนการสอน
เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ผู้สอนสถาบันอาชีวะ
และเทคนิคศึกษาต้องประสบปัญหาอย่างมาก ในการที่จะทำให้ผลการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมาย
อยู่เสมอ การที่จะให้ผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละวิชาได้ออกไปปฏิบัติงานเป็นช่างเทคนิคที่มีทักษะจริง ๆ นั้น
ย่อมไม่สามารถเป็นไปได้ด้วยการเล่าเรียนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ผู้สอนจะต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญ
ของการที่จะต้องมีเวลาเพียงพอ สำหรับทำความคุ้นเคยกับวัสดุเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจน
การเรียนรู้ถึงขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานต่าง ๆ ในสาขาวิชานั้น ๆ หากลำดับขั้นตอนที่เกิดขึ้นใน
กระบวนการทางเทคนิคยิ่งซับซ้อนมากเท่าใด การถ่ายทอดความรู้ในชั้นเรียนก็ยิ่งเผชิญกับอุปสรรค
มากขึ้นเท่านั้น
ปัจจุบันนี้ นอกเหนือจากความรู้ทางวิชาการแล้ว ผู้สอนวิชาทางเทคนิคยังจะต้องรู้จักนำเอาวิธีการ
และสื่อต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้การเรียนการสอนนั้น ๆ มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ นิยามของ
ประสิทธิภาพในการสอนทางเทคนิค  มีดังนี้ เนื้อหาที่ผู้เรียนได้จากการสอน =
เนื้อหาที่ผู้สอนเตรียมจากหลักสูตรและถ่ายทอดให้ในชั้นเรียน
2. ความหมายของสื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)
สื่อ (Media) หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ถ่ายทอดหรือนำความรู้ในลักษณะต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับ
ให้เข้าใจ ความหมายได้ตรงกัน ในการเรียนการสอน สื่อที่ใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน (Instruction Media)
ในทางการศึกษามีคำที่มีความหมายแนวเดียวกันกับสื่อการเรียนการสอน เช่น สื่อการสอน
(Instructional Media or Teaclning Media) สื่อการศึกษา (Educational media) อุปกรณ์ช่วยสอน
(Teaching Aids) เป็นต้น ในปัจจุบันนักการศึกษามักจะเรียกการนำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ
มารวมกันว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational) ซึ่งหมายถึง การนำเอาวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมา
ใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
3. ทำไมจึงต้องใช้สื่อการเรียนการสอน
ข้อพิจารณาในการตอบคำถามว่า ทำไมจึงต้องใช้สื่อเพื่อช่วยในการเรียนการสอน มีอยู่หลาย
ประการดังนี้
3.1 ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
3.2 ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในปริมาณมากขึ้น ในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3.3 ช่วยให้ผู้เรียนสนใจ และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
3.4 ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึกได้รวดเร็วและดีขึ้น
3.5 ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน
3.6 ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบาก เพราะ
3.6.1 ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
3.6.2 ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรมขึ้น
3.6.3 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น
3.6.4 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงเร็วให้ดูช้าลง
3.6.5 ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อขนาดขึ้น
3.6.6 ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
3.6.7 นำอดีตมาให้นักศึกษาได้
3.6.8 นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้ ในกรณีนี้เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอน
มีคุณภาพดีขึ้น และยังสอดคล้องกับวิธีการสอนที่ครูผู้สอนพิจารณาเลือกเอามาใช้สอน
อีกด้วย
3.7 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้น และผ่านการวัดผลอันหมายถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียน
4. การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน
มีการจำแนกประเภทสื่อการเรียนการสอนตามแนวความคิดที่แตกต่างกัน ดังตัวอย่าง
4.1 จำแนกประเภทสื่อการเรียนการสอน โดยพิจารณาจากลักษณะประสาทการรับรู้ของผู้เรียน
จากการเห็นและการฟัง ซึ่งสามารถจำแนกประเภทของสื่อได้ดังต่อไปนี้
4.1.1 สื่อที่เป็นภาพ (Visual Media)
. ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Non-Projected) ได้แก่ ภาพบนกระดาษดำ ภาพจากแผ่นภาพ
ภาพจากหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
. ภาพที่ต้องฉาย (Projected) ได้แก่ ภาพจากเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์
เครื่องฉายภาพยนตร์หรือวิดีทัศน์
4.1.2 จำแนกประเภทสื่อการเรียนการสอน โดยพิจารณาจากลักษณะประสาทการรับรู้ของผู้เรียน
จากการเห็นและการฟัง ซึ่งสามารถจำแนกประเภทของสื่อได้ดังต่อไปนี้
4.1.1 สื่อที่เป็นภาพ(Audio Media) ได้แก่ สื่อประเภทเสียงที่ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น
เทปบันทึกเสียง วิทยุ เป็นต้น
4.1.3 สื่อที่เป็นทั้งภาพและเสียง (Audio-Visual Media) ได้แก่ สื่อที่แสดงภาพและเสียง
พร้อม ๆ กัน เช่น สไลด์ประกอบเสียง ภาพยนตร์ที่มีเสียง (Sound-film) เทปโทรทัศน์
บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน (CAI) และมัลติมิเดีย เป็นต้น
4.2 จำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน ในทางเทคโนโลยีการศึกษา อาจจำแนกได้เป็น
4.2.1 เครื่องมืออุปกรณ์ (Hardware) สื่อการเรียนการสอนประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์
เรียกกันโดยทั่วไปว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือสื่อใหญ่ (Big Media) หมายถึง สิ่งที่เป็น
อุปกรณ์ทางเทคนิคทั้งหลายที่ประกอบด้วยกลไกไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ใช่สิ่ง
สิ้นเปลือง ได้แก่ เครื่องฉายทั้งหลาย เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์
เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องรับโทรทัศน์ รวมทั้งเครื่องมือ
หรืออุปกรณ์ทางเทคนิคอื่น ๆ ที่เป็นทางผ่านของความรู้ เช่น เครื่องฉายจุลซีวัน
เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4.2.2 วัสดุ (Software) สื่อการเรียนการสอนประเภทวัสดุ บางครั้งเรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software)
หรือสื่อเล็ก (Small Media) ซึ่งเป็นวัสดุที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพ เสียง และตัวอักษร
ในรูปแบบต่าง ๆ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
. วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) เพื่อเสนอเรื่องราว ข้อมูล
หรือความรู้ออกมาสื่อความหมายแก่ผู้เรียน ได้แก่ ฟิล์ม แผ่นใส เทปบันทึกเสียง เป็นต้น
. วัสดุที่เสนอความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ เช่น ตำรา
หนังสือ เอกสาร คู่มือ รูปภาพ แผ่นภาพ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง เป็นต้น
4.2.3 เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method) การสื่อความหมายในการเรียนการสอน
บางครั้งไม่อาจทำได้ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์หรือวัสดุ แต่จะต้องอาศัยเทคนิคหรือวิธีการ
เพื่อการให้เกิดการเรียนรู้ หรือใช้ทั้งวัสดุอุปกรณ์และวิธีการไปพร้อม ๆ กัน แต่เน้นที่วิธีการ
เป็นสำคัญ เช่น การสาธิตประกอบการใช้เครื่องมือเครื่องจักร การทดลอง การแสดงบทบาท
การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น ดังนั้นเทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ดังกล่าว
จึงจัดว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนอีกประเภทหนึ่ง แต่สื่อประเภทนี้มักจะใช้ร่วมกับสื่อ
2 ประเภทแรก จึงจะได้ผลดี
เมื่อกล่าวถึงการสื่อการเรียนการสอนในกระบวนการเรียนการสอนโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงวัสดุ
อุปกรณ์ ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มากกว่าเทคนิคหรือวิธีการ ดังนั้นจึง
นิยมเรียกสื่อการเรียนการสอนว่าอุปกรณ์ช่วยสอนหรืออุปกรณ์การสอน (Teaching Aids) ซึ่งหมายถึง
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อความหมาย อันจะส่งผลให้ผู้เรียน
เกิดความเข้าใจในบทเรียนได้ง่ายขึ้น
5. การเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะกับวัตถุประสงค์
ในการพิจารณาเลือกใช้หรือสร้างสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในขั้นต้นจะต้อง
พิจารณาเป้าหมายของวัตถุประสงค์ของบทเรียนเป็นหลัก โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของวัตถุประสงค์นั้น ๆ ว่า
มีจุดสำคัญอะไรควรสื่อความหมายลักษณะใด จากนั้นจึงเลือกลักษณะของสื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลัก
ของวัตถุประสงค์นั้น โดยพิจารณาเลือกเรียงลำดับจากสิ่งที่เป็นนามธรรม (Abstract) ไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม
การพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ข้อ ก. พบว่า สื่อที่จำเป็นในการใช้สอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ก็คือ ใช้เพียงคำพูด
บรรยายก็เพียงพอแล้ว
วัตถุประสงค์ข้อ ข. ถ้าใช้คำพูดหรือบรรยายเพียงอย่างเดียวคงไม่พอที่จะให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย
ได้ง่ายนัก ดังนั้นจึงต้องมีสื่อการเรียนการสอนอื่น ๆ ช่วย เช่น รูปภาพนิ่ง หุ่นจำลอง หรือของจริง
ซึ่งสื่อทั้ง 3 ลักษณะนี้น่าจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ดีกว่า แต่การที่จะกำหนดว่า
เป็นสื่อประเภทใดนั้นจะต้องพิจารณาต่อไปถึงปัจจัยอื่นประกอบ
ดังนั้นในวัตถุประสงค์ข้อนี้สื่อการเรียนการสอนที่เลือกใช้จึงอาจเป็นแผ่นใสหรือแผ่นภาพที่เป็น
รูปหลอดไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือใช้หลอดไฟฟ้าจริงก็ได้เนื่องจากหาได้ง่าย แต่จะต้องมีจำนวนเพียงพอกับ
ความต้องการของผู้เรียน เนื่องจากของจริงมีขนาดเล็กเกินไป
วัตถุประสงค์ข้อ ค. เนื่องจากมัลติมิเตอร์ของจริงมีขนาดเล็ก ผู้เรียนทั้งชั้นไม่สามารถมองเห็นสเกล
หรืออ่านค่าได้พร้อม ๆ กัน ควรเพิ่มขนาดมัลติมิเตอร์ให้ใหญ่ขึ้น โดยทำเป็นแผ่นภาพ แผ่นใส
หรือจำลองแบบจากของจริงจะเป็นสื่อที่ชัดเจนกว่า และผู้สอนสามารถควบคุมชั้นเรียนได้
ในเวลาเดียวกัน ส่วนการใช้มัลติมิเตอร์จริงจะควบคุมการสอนได้ยากในช่วงของการให้เนื้อหา
แต่ถ้าเป็นการประลองหรือเป็นแบบฝึกหัด จะเหมาะสมกว่าแผ่นภาพหรือแผ่นใส
เมื่อพิจารณาได้ลักษณะของสื่อ จาการวิเคราะห์เนื้อหาหลักของวัตถุประสงค์บทเรียนแล้ว ในขั้นต่อไป
เป็นการวิเคราะห์ต่อเพื่อหาประเภทของสื่อหรืออุปกรณ์ช่วยสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์นั้นโดยพิจารณา
จากคุณสมบัติเฉพาะตัว และความเหมาะสมในการใช้ประกอบการสอนของสื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภท
6. เทคนิคการใช้สื่อสารการเรียนการสอน
การใช้สื่อการเรียนการสอน ย่อมจะมีเทคนิคที่แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ลักษณะและคุณสมบัติของสื่อแต่ละประเภท กลุ่มผู้เรียน ผู้สอน สถานที่ ความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือ
ประกอบตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เป็นต้น แต่หลักการสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอก็คือเงื่อนไข
การเรียนรู้คินเตอร์ ได้ให้ข้อเสนอแนะในการใช้สื่อการเรียนการสอนไว้ ดังต่อไปนี้
6.1 ไม่มีวิธีการสอนหรือวัสดุประกอบการสอนชนิดใด ที่จะสามารถใช้กับผู้เรียนและบทเรียนทั่วไปได้
วิธีสอนและวัสดุประกอบการสอนแต่ละประเภทย่อมมีจุดมุ่งหมายเฉพาะของมันเอง
6.2 ในบทเรียนหนึ่ง ๆ ไม่ควรใช้สื่อการเรียนการสอนมากเกินไป ควรใช้เพียงแต่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ในบางครั้งก็ไม่ควรใช้สื่ออย่างเดียวตลอด
                          6.3 สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ควรจะต้องสอดคล้องกับบทเรียนและกระบวนการเรียนการสอน
6.4 สื่อการเรียนการสอนควรสร้างให้เกิดโอกาสที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเตรียมและการใช้
อันก่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่ลืมง่าย
6.5 ก่อนใช้สื่อการเรียนการสอน ผู้สอนควรทดลองใช้ก่อนเพื่อความแน่ใจว่าจะใช้ได้ถูกต้อง และ
มีประสิทธิภาพนอกจากนั้นยังต้องจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือประกอบให้พร้อมทุกอย่าง
7. ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ประกอบในการเรียนการสอนเท่าที่พบเห็นและจากประสบการณ์ พอสรุป
เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้คือ
7.1 กระดานดำ (Chalk Boards)
7.2 หนังสือ ตำราเรียน/ใบเนื้อหาและใบงาน (Book or text/Information and Worksheets)
7.3 แผ่นภาพ (Wall Charts)
7.4 แผ่นใส (Overhead Transparencies)/สไลด์อิเล็กทรอนิกส์
7.5 โมเดลพลาสติก (Overhead Plastic Models)
7.6 ภาพสไลด์และแผ่นภาพยนต์ (Slide Series and Filmstrips)
7.7 แถบบันทึกเสียง (Audiotape Recordings)
7.8 แถบวิดีทัศน์/แผ่นวิดีทัศน์ (Videotape Recordings and Videodiscs)
7.9 หุ่นจำลอง (Models)
7.10 อุปกรณ์ทดลอง/สาธิต (Experimental/Demonstration Sets)
7.11 ของจริง (Real Objects)
7.12 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เป็นต้น
8. ลักษณะและแนวทางการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ
8.1 กระดานดำ (Chalk Boards)
. เหตุผลที่เลือกใช้
ข้อความที่แสดงสั้นๆ
ภาพที่แสดงเป็นภาพง่ายๆ ใช้เวลาเขียนสั้นๆ
ไม่มีไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อื่น ๆ
ต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไขภาพหรือข้อความบ่อยๆ
ใช้กับผู้เรียนจำนวนไม่มากนัก
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
เหมาะสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย หรือถาม-ตอบ
สามารถให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรมบนกระดานดำได้ง่าย และพร้อมกันหลายคนได้
เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดต่าง ๆ ได้ง่าย
. ลักษณะทางเทคนิค
ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบ
ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
เก็บรักษาไว้ไม่ได้
อายุการใช้งานสั้น
มีเนื้อที่ในการใช้งานกว้าง
8.2. ใบเนื้อหาและใบงาน (Information Sheet and Work Sheets)
. เหตุผลที่เลือกใช้
ไม่มีตำราหรือหนังสือที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการโดยตรง
เนื้อหาที่ต้องการกระจัดกระจายอยู่ในตำราหลายเล่ม
ตำรามีราคาแพงเกินไป และมีเนื้อหาเกินความต้องการ
รายละเอียดเนื้อหามีมาก หรือมีภาพและวงจรที่ซับซ้อนเสียเวลานานในการลอกจาก
กระดานดำ
ในการสอนผู้เรียนจำนวนมาก ๆ แบบบรรยายควรมีใบเนื้อหา ใบงานประกอบ
เพื่อให้ทุกคน เรียนได้ทั่วถึง
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
เหมาะสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย ถาม-ตอบ แบบเป็นกลุ่มย่อย หรือเรียน
ด้วยตนเอง
ผู้เรียนทุกคนสามารถมีกิจกรรมพร้อมกันในเวลาเดียวกัน เช่น อ่านและทำใบงาน
สามารถให้ผู้เรียนศึกษาและทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง
ขณะที่ผู้สอนกำลังบรรยายหรือป้อนข้อคำถามระหว่าง บทเรียนไม่ควรแจกใบเนื้อหา
ให้ผู้เรียนอ่าน
. ลักษณะทางเทคนิค
ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้าง เช่น กระดาษไข กระดาษ เครื่องโรเนียว เครื่องถ่ายเอกสาร
หรือเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ต้องใช้พนักงานพิมพ์ดีดช่วย หรือผู้สอนต้องพิมพ์เองในการสร้างต้นฉบับ
สามารถทำสำเนาได้จำนวนมากไม่จำกัด
จัดเก็บรักษาง่าย และสะดวกต่อการนำไปใช้ครั้งต่อไป
8.3แผ่นภาพ (Wall Charts)
. เหตุผลที่เลือกใช้
ภาพที่แสดงยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้เวลาเขียนมาก
ไม่มีไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เครื่องฉายภาพอื่นๆ ในห้องเรียน
ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนทั้งชั้นมาที่ภาพได้
ต้องการแสดงให้เห็นทีละขั้นตอนโดยใช้ภาพแยกส่วน
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
เหมาะกับการสอนแบบบรรยาย หรือ ถาม-ตอบ
สามารถให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรมได้ โดยใช้ดินสอสีหรือชอล์คสีเพิ่มเติมรายละเอียดได้
ให้ผู้เรียนอธิบายส่วนประกอบต่างๆ ของภาพหน้าชั้นเรียนได้
ภาพทุกภาพควรมีรายการคำถามที่ดีประกอบ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ
คิดหาคำตอบ
. ลักษณะทางเทคนิค
ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ยุ่งยากในการสร้าง ยกเว้นในกรณีต้องการลอกรูปภาพ
ที่ซับซ้อน จากตำราต้องใช้เครื่องขยายภาพ
ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ในขณะใช้สอน
การเก็บรักษาค่อนข้างยุ่งยากเพราะมีขนาดใหญ่
8.4แผ่นใส (Overhead Transparencies )
. เหตุผลที่เลือกใช้
ภาพที่แสดงยุ่งยากซับซ้อน เสียเวลาในการเขียนมาก
ต้องการแสดงรูปภาพที่เป็นขั้นตอน โดยใช้ภาพซ้อน (Over Lay)
ต้องการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่หรือเล็กได้ตามต้องการ
ต้องการใช้ภาพซ้อนที่สามารถเลื่อนหรือเคลื่อนที่ได้
สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดีในขณะสอน
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
เหมาะกับการสอนแบบบรรยาย หรือถาม-ตอบ
ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมโดยเขียนลงบนแผ่นใสได้
ผู้เรียนสามารถอธิบายรายละเอียดต่างๆ ของภาพหน้าชั้นเรียนได้
การเตรียมภาพแผ่นเดี่ยวหรือภาพซ้อน ควรมีรายการคำถามประกอบภาพที่เหมาะสม
เป็นขั้นตอน
. ลักษณะทางเทคนิค
สามารถสร้างขึ้นเองได้ง่าย ๆ โดยใช้ปากกาเขียนแผ่นใส (ปัจจุบันสามารถลอกภาพ
ที่ซับซ้อนจากต้นฉบับโดยใช้เครื่องถ่ายเอกสาร หรือเครื่องสแกนเนอร์)
ฉายภาพในห้องสว่างได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ในห้องมืด
การเก็บรักษาง่ายและเคลื่อนย้ายสะดวก
ต้องใช้ไฟฟ้าและเครื่องฉายภาพโปร่งใส (Overhead Projector)
8.5โมเดลพลาสติก (Overhead Plastic Models)
. เหตุผลที่เลือกใช้
แสดงหลักการทำงานของชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้
แสดงส่วนประกอบหลักที่ไม่ยุ่งยากนัก
สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดีขณะสอน
ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกิจกรรมร่วม
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
เหมาะกับการสอนแบบบรรยาย และถาม-ตอบ
สามารถให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรมได้โดยการอธิบายประกอบการเคลื่อนไหวชิ้นส่วนต่าง ๆ
ขั้นตอนการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่างๆ ผู้สอนสามารถเตรียมคำถามไว้ถามเป็นขั้นตอนได้
. ลักษณะทางเทคนิค
สามารถสร้างได้ง่าย ราคาไม่แพง
สามารถฉายในห้องที่สว่างได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ห้องมืด
ชิ้นส่วนต่าง ๆ มีขนาดพอเหมาะ และน้ำหนักเบา
การเก็บรักษาและทำความสะอาดง่าย
สามารถเคลื่อนย้ายสะดวก
8.6ภาพสไลด์ และแผ่นภาพยนต์ (Slide Series and Filmstrips)
. เหตุผลที่เลือกใช้
แสดงภาพที่ยุ่งยากซับซ้อนมากหรือภาพถ่ายของจริง
ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนมารวมที่ภาพได้
สามารถย่อภาพให้เล็กหรือขยายใหญ่ตามขนาดของกลุ่มผู้เรียนได้
ต้องการแสดงภาพประกอบเสียงในกรณีที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง โดยใช้
ภาพสไลด์ ชุดประกอบเทป ( Slide-tape Program)
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
ภาพสไลด์เดี่ยวสามารถสอนได้โดยวิธีการบรรยาย หรือถาม-ตอบ ส่วนสไลด์ชุดประกอบ
เทป สามารถเรียนได้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนร่วมกิจกรรมได้โดยการตอบคำถามจากผู้สอนเมื่อสอนด้วยภาพสไลด์เดี่ยว
ผู้เรียนสมารถอธิบายรายละเอียดจากภาพหน้าชั้นเรียนได้
การใช้ภาพสไลด์เดี่ยวผู้สอนควรเตรียมรายการคำถามประกอบภาพ ไว้เป็นขั้นตอน
จะดีกว่า การสอนแบบบรรยายจากภาพโดยตรง
. ลักษณะทางเทคนิค
สามารถทำขึ้นใช้เองได้ง่าย โดยใช้กล้องถ่ายรูปธรรมดา
กระบวนการล้างฟิล์ม ทำได้ง่ายสะดวกโดยร้านถ่ายรูปถั่วไป
การเก็บรักษาภาพง่าย และสะดวกเพราะมีขนาดเล็ก
เครื่องฉายภาพสไลด์ชนิดไฟแรงสูง สามารถฉายได้ใในมุมมืดของห้อง โดยไม่ต้องฉาย
ในห้องมืด
สามารถใช้ร่วมกับเทปเป็นชุดสไลด์ประกอบเสียง
สามารถถ่ายสำเนาเป็นหลาย ๆ ชุดได้สะดวก
8.7แถบวิดีทัศน์ และแผ่นวิดีทัศน์ (Videotape Recording and Videodiscs)
. เหตุผลที่เลือกใช้
อธิบายโดยภาพเคลื่อนไหวหรือการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
สามารถย้อนกลับไปเริ่มเนื้อหาเดิมได้ตลอดเวลา
สามารถย่อหรือขยายภาพได้ตามขนาดตามความเหมาะสมของผู้เรียน
สามารถใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวร่วมกันได้
มีเสียงบรรยายที่สัมพันธ์กับภาพจริงเคลื่อนไหวหรือภาพเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคพิเศษ
สามารถเลือกกรอบเฉพาะเจาะจงได้บนแผ่นวิดีทัศน์
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
สามารถใช้กับการเรียนการสอนได้หลากหลายวิธี รวมถึงการเรียนด้วยตนเอง
ผู้เรียนร่วมกิจกรรมได้ระหว่างบทเรียนโดยการตอบคำถามหรือทำกิจกรรมกลุ่ม
. ลักษณะทางเทคนิค
สามารถจัดทำใช้ได้ด้วยตนเองโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยาก
ต้องใช้ประกอบกับเครื่องเล่นและเครื่องฉาย
ไม่จำเป็นต้องฉายในห้องมืด
ต้องพัฒนาให้ทันกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
สามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ผลิตต้นฉบับราคาสูง
สะดวกในการสำเนาหลาย ๆ ชุดได้อย่างรวดเร็ว
ง่ายและสะดวกต่อการบำรุงรักษา จัดเก็บและเคลื่อนย้าย
8.8หุ่นจำลอง (Models)
. เหตุผลที่เลือกใช้
สามารถมองเห็นได้ 3 มิติ เข้าใจง่าย
สาธิตการทำงานของอุปกรณ์ ชิ้นส่วนหรือกลไกที่ยุ่งยากให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
สาธิตการทำงานที่เคลื่อนไหวรวดเร็วให้ช้าลง
ตรวจปรับความเข้าใจของผู้เรียนระหว่างภาพกับของจริง โดยเฉพาะวิชาเขียนแบบ
เทคนิค
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
เหมาะกับการสอนแบบรรยาย และถาม-ตอบ
สังเกตการสาธิตของผู้สอนและตอบคำถาม
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันปฏิบัติขณะสาธิต
อภิปรายปัญหาร่วมกัน
. ลักษณะทางเทคนิค
มีรูปทรงเป็น 3 มิติ คล้ายของจริง
สร้างได้เองในสถานศึกษา
มีขนาดเหมาะ น้ำหนักเบา จัดเก็บและเคลื่อนย้ายสะดวก
ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก
8.9ชุดทดลอง/สาธิต (Experimental/Demonstration Sets)หรือชุดฝึกปฏิบัติ
. เหตุผลที่เลือกใช้
ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
ทำให้ผู้เรียนหรือผู้รับการฝึกได้เห็นปรากฎการณ์จากการทดลองปฏิบัติจริง
ต้องการแสดงกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ของผลลัพธ์ที่ต้องการ
กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนหรือผู้รับการฝึกได้ดี
ผู้เรียนหรือผู้รับการฝึกสามารถเรียนรู้เป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มหรือร่วมกับผู้สอนได้
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
สามารถใช้กับการสอนหรือการฝึกได้หลายวิธี
ผู้สอนหรือผู้ฝึกเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้สำหรับการทดลอง
หรือสาธิต
ผู้สอนหรือผู้ฝึกให้คำปรึกษาแนะนำระหว่างบทเรียนหรือการฝึกได้ตลอดเวลา
ผู้เรียนหรือผู้รับการฝึกมีกิจกรรมร่วมระหว่างบทเรียนหรือการฝึก
. ลักษณะทางเทคนิค
ต้องใช้เวลาในการเตรียมการค่อนข้างมาก
มีขนาดใหญ่ น้ำหนักค่อนข้างมาก และเคลื่อนย้ายไม่สะดวก
อุปกรณ์ประกอบมีราคาแพง
ต้องการสถานที่ในการจัดเก็บและบำรุงรักษา
8.10 ของจริง (Real Objects)
. เหตุผลที่เลือกใช้
ไม่สามารถใช้สื่อชนิดอื่นๆ ได้ดีเท่า
ของจริงสามารถหาได้ง่าย หรือยืมมาได้จากโรงฝึกงาน
ของจริงสามารถแสดงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้
ของจริงมีน้ำหนักและขนาดพอเหมาะที่จะนำมาใช้ประกอบการสอนในชั้นเรียนได้
. กิจกรรมในการเรียนการสอน
เหมาะกับการสอนแบบบรรยาย สาธิต หรือถาม-ตอบ
ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมโดยอธิบายหรือสาธิตจากของจริงนั้นได้โดยตรง
จับต้อง สังเกต ศึกษาได้ด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มย่อย โดยใช้ใบงานประกอบ
. ลักษณะทางเทคนิค
ส่วนใหญ่ได้มาจากโรงฝึกงาน หรือห้องประลองเพื่อนำมาประกอบการสอนทางด้าน
ทฤษฎี ภายในห้องเรียน
ขนาด น้ำหนัก คือ ข้อจำกัดในการนำมาใช้
ต้องการการจำแนกความแตกต่างของชิ้นส่วน โดยใช้สีหรือสัญลักษณ์
ต้องการสื่อประเภทอื่นช่วย ในกรณีที่ไม่สามารถเห็นการทำงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
หรือมีขนาดเล็กเกินไป
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

       สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
       2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ
ระบบสื่อการศึกษา
       นับตั้งแต่มนุษย์ได้รู้จักนำเอาสื่อ (media) มาใช้ในการสื่อความหมายก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา จากสื่อที่ใช้สัญลักษณ์ รูป มาจนถึงสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยธรรมชาติแล้วสื่อแต่ละประเภทจะมีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง เพียงแต่ว่าผู้ผลิตและผู้ใช้จะสามารถดึงเอาคุณค่านั้นมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด สื่อใดก็ตามถ้าได้มีการวางแผนดำเนินการผลิตการใช้ อย่างมีระบบ ย่อมเกิดประโยชน์ทางการศึกษา ตามจุดมุงหมายที่วางไว้ วิธีการระบบสามารถนำมาใช้กับกระบวนการสื่อได้ทุกกระบวนการเช่น การเลือก การผลิต การใช้เป็นต้น
วิธีการระบบ
จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการใช้วิธีการระบบในการเลือกสื่อ จะมีขั้นตอนที่ผูกพันกับการผลิตสื่ออยู่ด้วย
การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน
            ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น