>> ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกเกอร์ของนางสาวสุกัญญา ชูศรีวาส คบ.3 หมู่ 2

หน่วยที่ 4

             หน่วยที่  4  จิตวิทยาการเรียนรู้
ความหมายและความเป็นมาของจิตวิทยา
วิชาจิตวิทยากำเนิดเริ่มต้นมาจากต่างประเทศเมื่อหลายปีมาแล้ว คำว่าจิตวิทยา Psychology มีรากศัพท์มาจาก

Psyche - - - - - - - Psycho = วิญญาณ (Soul)
Logos - - - - - - - - logy = การศึกษา Psycho + logy - - - - - - - - Psychology

จึงหมายถึง วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต
จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถของผูเรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า ร้อนเวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร ต่อไป เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่า ประสบการณ์ ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
1.             พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
2.             พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
3.             พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
4.             พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ 


ความหมายของการเรียนรู้      
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
                คิมเบิล  (   Kimble ,  1964   )  "การเรียนรู้   เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม  อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
                ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์  (Hilgard & Bower, 1981)  "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก   ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ  ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์  "
                คอนบาค  (  Cronbach  )  "การเรียนรู้  เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
                พจนานุกรมของเวบสเตอร์  (Webster 's  Third  New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ  กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้  ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
 ประดินันท์  อุปรมัย (๒๕๔๐, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ ๑๕,     หน้า ๑๒๑) “ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์  โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม “  ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้
 “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
  จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology   มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันนี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก
วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
 1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
 2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก   มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง   นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

หลักการสำคัญ
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔  ประการ คือ
                ๑.  แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล    เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
                ๒.  สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ   ที่ครูนำมาใช้
                ๓.  การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น
                ๔.  การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.   การเสริมแรง   และ   การลงโทษ
๒.  การปรับพฤติกรรม   และ  การแต่งพฤติกรรม
๓.  การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
การเสริมแรงและการลงโทษ
            การเสริมแรง (Reinforcement)  คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี  ๒  ทาง ได้แก่
๑.   การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
๒.   การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
            การลงโทษ  (Punishment) คือ  การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง    การลงโทษมี  ๒  ทาง   ได้แก่
๑.   การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ  มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
๒.   การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
ตารางการเสริมแรง   (The Schedule of Reinforcement
๑.   การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงทุกครั้งที่บุคคลแสดงพฤติกรรมตามต้องการ
๒.  การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Intermittent Reinforcement) ซึ่งมีการกำหนดตารางได้หลายแบบ ดังนี้
     ๒.๑  กำหนดการเสริมแรงตามเวลา (Iinterval schedule)
  ๒.๑.๑    กำหนดเวลาแน่นอน (Fixed Interval Schedules  =  FI
  ๒.๑.๒   กำหนดเวลาไม่แน่นอน (Variable Interval Schedules  =  VI )
     ๒.๒  กำหนดการเสริมแรงโดยใช้อัตรา (Ratio schedule)  ๒.๒.๑   กำหนดอัตราแน่นอน  (Fixed Ratio   Schedules   =   FR
  ๒.๒.๒   กำหนดอัตราไม่แน่นอน (Variable Ratio Schedules   =  VR)
การปรับพฤติกรรมและการแต่งพฤติกรรม
            การปรับพฤติกรรม  (Behavior   Modification) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์  โดยใช้หลักการเสริมแรงและการลงโทษ
            การแต่งพฤติกรรม    (Shaping  Behavior )   เป็นการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมใหม่   โดยใช้วิธีการเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย  จนกระทั่งเกิดพฤติกรรมตามต้องการ
บทเรียนสำเร็จรูป     (Programmed   Instruction)
เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา หรือครูผู้สอนสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและ   คำเฉลย  การสร้างบทเรียนโปรแกรมใช้หลักของ  Skinner  คือเมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรม จบ ๑ บท  จะมีคำถามยั่วยุให้ทดสอบความรู้ความสามารถ  แล้วมีคำเฉลยเป็นแรงเสริมให้อยากเรียนบทต่อๆ ไปอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น